ชื่อภาษาไทย จอห์น วู สามก๊ก โจโฉ แตกทัพเรือ
จัดจำหน่ายโดย มงคลเมเจอร์
กำหนดฉายหนัง 10 กรกฎาคม 2551
เรื่องย่อหนัง Red Cliff
เรื่องราวใน Red Cliff เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 208 ในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น แม้จะมีจักรพรรดิ คือพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่แผ่นดินก็แบ่งออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากมาย
ขุนศึกและผู้สำเร็จราชการผู้ทะเยอทะยาน โจโฉ ใช้จักรพรรดิเป็นเครื่องมือประกาศสงครามกับดินแดนจ๊กก๊กทางตะวันตกที่ปกครอง โดยเล่าปี่ ผู้มีศักดิ์เป็นลุงของจักรพรรดิ เป้าหมายของโจโฉคือกำจัดทุกก๊กให้ราบคาบ เพื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียว และตั้งตนเป็นจักพรรดิ
เล่าปี่ ส่งขงเบ้ง ที่ปรึกษาของเขาไปยังดินแดนง่อก๊กทางใต้ในฐานะทูตสันถวไมตรีเพื่อโน้มน้าว ให้ซุนกวน ผู้นำง่อก๊ก เข้าร่วมเป็นพันธมิตรทำสงครามกับโจโฉ ที่นั่น ขงเบ้งได้พบกับจิวยี่ ที่ปรึกษาแห่งง่อก๊ก และกลายเป็นมิตรกันท่ามกลางไฟสงครามที่กำลังคุกรุ่น
เมื่อได้รู้ว่าสองก๊กรวมตัวเป็นพันธมิตรกัน โจโฉก็โกรธมาก และรวบรวมกำลังพลกว่า 8 แสนนาย พร้อมด้วยเรืออีกกว่า 2 พันลำ มุ่งหน้าลงใต้หวังฆ่านกสองตัวด้วยก้อนหินก้อนเดียว กองทัพของโจโฉตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่ป่าอีกา (Crow Forest หรือ อู่หลิม) ริมฝั่งแม่น่ำแยงซี โดยที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำคือผาแดง (Red Cliff) ฐานที่มั่นของฝ่ายสัมพันธมิตร
ด้วยเสบียงอาหารที่ขาดแคลนและกองทัพจำนวนมหาศาลของโจโฉ ฝ่ายสัมพันธมิตรดูเหมือนจะตกที่นั่งลำบาก จิวยี่และขงเบ้ง จึงต้องร่วมกันใช้ปฏิภาณเพื่อเปลี่ยนกระดานศึก สงครามครั้งนี้เต็มไปด้วยการต่อสู้ทั้งเชิงบู๊และเชิงบุ๋น, ทั้งในน้ำและบนบก จึงกลายเป็นสงครามที่มีชื่อเสียงที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ที่ซึ่งเรือสองพันลำถูกเผาวอดวาย และเป็นเหตุให้ประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล สงครามดังกล่าวนั้นก็คือ ศึกผาแดง นั่นเอง
ศึกผาแดงได้รับการถ่ายทอดให้เป็นอมตะในวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก (The Romance of Three Kingdom) แม้จะถูกเขียนขึ้นกว่า 700 ปีแล้ว แต่สามก๊กก็ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากนักอ่านทั่วเอเชีย และขยายวงกว้างกลายเป็นวิดีโอเกมส์และหนังสือการ์ตูนมากมาย
ผู้กำกับ จอห์น วู สนใจวรรณกรรมเรื่องนี้มากว่า 20 ปีแล้ว แต่ตอนนั้นเทคโนโลยีและตลาดหนังยังไม่เอื้อต่อภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ขนาดนี้ กระทั่งฤดูร้อนปี 2004 โอกาสก็มาถึงเขา เมื่อผู้อำนวยการสร้างคู่บุญ เทอเรนซ์ จาง เดินทางไปปักกิ่งเป็นครั้งแรก และเริ่มวางแผนระดมทุน และงานสร้างด้วยกัน
เครดิต SUMUNEE
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น